สถิติผู้เข้าชม
 ขณะนี้มีผู้เข้าใช้ 45
 ผู้เข้าชมในวันนี้ 2,246
 ผู้เข้าชมทั้งหมด 5,472,431
กรุณาฝาก Email ของท่าน
  เพื่อรับข่าวสาร ที่น่าสนใจ
22 ธันวาคม 2567
อา จ. อ. พ. พฤ ศ. ส.
10  11  12  13  14 
15  16  17  18  19  20  21 
22  23  24  25  26  27  28 
29  30  31         
             
 
ชายทะเล “ดอนหอยหลอด”
[6 เมษายน 2555 09:56 น.]จำนวนผู้เข้าชม 10809 คน
 ชายทะเล “ดอนหอยหลอด”

    ดอนหอยหลอด ที่ตั้งอยู่ที่ ตำบลบางจะเกร็ง อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงครามเป็นสันดอนที่เกิดขั้นบริเวณปากแม่น้ำแม่กลองชายฝั่งทะเลของจังหวัดสมุทรสงคราม มีลักษณะเป็นสันดอนใหญ่ตลอดชายฝั่งทะเล อยู่ห่างจากชายฝั่งประมาณ 50 เมตร 2,000 เมตร มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 22,000 ไร่

   เป็นสันดอนที่เกิดขั้นบริเวณปากแม่น้ำแม่กลองชายฝั่งทะเลของจังหวัดสมุทรสงคราม มีลักษณะเป็นสันดอนใหญ่ตลอดชายฝั่งทะเล อยู่ห่างจากชายฝั่งประมาณ 50 เมตร 2,000 เมตรมีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 22,000 ไร่ จำนวนดอนที่เกิดขึ้นในขณะนี้มีทั้งหมด 7 ดอน แต่ละดอนแยกจากกันด้วยร่องน้ำเล็ก ๆ ลึกบ้าง ตื้นบ้างดอนที่มีหอยหลอดชุกชุมมากมีจำนวน 5 ดอน ซึ่งเป็นดอนที่เกิดขึ้นนานแล้ว ความหนาแน่นของหอยหลอดบนพื้นที่ประมาณ 15,056.25 ไร่ลักษณะพื้นที่ของดอนหอยหลอดเป็น ลักษณะดินปนทราย ชาวบ้านเรียกว่า "ทรายขี้เป็ด" ซึ่งอาจนำไปใช้ถมที่ได้ แต่ใช้ประโยชน์ในการก่อสร้างไม่ได้หอยหลอดจะอยู่หนาแน่นบริเวณที่มีทรายประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป ความหนาแน่นของหอยหลอดขึ้นอยู่กับ สภาพแวดล้อมในแต่ละปีที่เปลี่ยนแปลงไป

    หอยหลอดเป็นสัตว์น้ำทะเลชนิหนึ่ง มีชื่อสามัญว่า Rozor clam และมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Solen Strictus Gould 1861จัดเป็นหอยสองฝาที่มีตัวอาศัยอยู่ในฝาที่ประกบทั้งสองข้าง มีลักษณะคล้ายหลอดกาแฟ กลมยาวประมาณ 7-8 เซนติเมตร สีน้ำตาลอ่อน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1เซนติเมตร เป็น ขนาดของหอยที่โตเต็มที่ มีสภาพความเป็นอยู่โดยการฝังตัวตั้งเป็นแนวดิ่งอยู่ใต้พื้นทราย ยามน้ำแห้งซึ่งเป็นช่วงโอกาสที่ชาวประมงจะทำการจับหอยหลอดได้หอยจะเปิดฝาอยู่เรี่ยพื้น และยึดตัวยื่นออกมาจับแพลงตอนเป็นอาหารหรือการเคลื่อนตัวออกไปหาพื้นที่อยู่ใหม่

 

ดอนหอยหลอด
เนื่องจากดอนหอยหลอดมีหอยหลอดชุกชุมมาก และมีทัศนียภาพที่สวยงาม แปลก และมีเอกลักษณ์ ยามปกติเวลาน้ำขึ้นน้ำทะเลจะท่วม ดอนจะจมหายไปในน้ำไม่มีร่องรอยของดอนหอยหลอดอยู่เลยแต่พอน้ำลงจะปรากฏพื้นที่ดอนหอยหลอดค่อย ๆ โผล่ขึ้นทีละน้อย เป็นพื้นที่กล้างไกลหลายร้อยไร่ จึงทำให้ดอนหอยหลอดเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่ง สิ่งที่ดึงดูดใจนักท่องเที่ยว คือ หอยหลอด กล่าวกันว่าเป็นแหล่งที่มีหอยหลอดชุกชุมมากที่สุดแห่งเดียวในประเทศไทย หรือแห่งเดียวในโลก นักท่องเที่ยวนิยมลงไปจับหอยหลอดกันอย่างสนุกสนาน วิธีจับก็ใช้มือกดบงบนพื้นทราย จะปรากฏฟองอากาศ และเห็นรูปรากฏเอาไม้จิ้มปูนขาวแหย่ลงไป หอยหลอดจะโผล่ขึ้นมาให้จับ ต้องรีบเก็บใส่ภาชนะไว้มิฉะนั้นจะมุดดินหนีอยู่ลึกลงไปกว่าเดิมอีก

 

   ห้ามสาดปูนขาวลงบนสันดอน เพราะจะทำให้หอยที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นตายหมด ช่วงเวลาเหมาะสมที่จะท่องเที่ยวดอนหอยหลอด คือ ประมาณเดือนมีนาคม - พฤษภาคมเพราะน้ำทะเลจะลดลงนานกว่าช่วงเวลาอื่น และสามารถมองเห็นสันดอนโผล่ขึ้นมา นักท่องเที่ยวสามารถเช่าเรือบริเวณศาลาอาภร (ใกล้ศาลกรมหลวงชุมพรเขตตอุดมศักดิ์) เพื่อนั่งเรือไปชมดอนหอยหลอด นักท่องเที่ยวสามารถสอบถามรายละเอียดเวลาน้ำขึ้น - น้ำลง ได้ที่ อบต. บางจะเกร็งโทร 034-723749

    หลายคนเข้าใจว่า "หอยหลอด" มีเพียงที่ดอนหอยหลอดที่เดียวในโลก แต่ความจริงแล้วยังมีหอยหลอดในบริเวณอื่นอีก เช่น จ.สมุทรปราการ และ จ.ตราด และในต่างประเทศ เช่น อินโดนีเซีย และออสเตรเลีย แต่มีในปริมาณน้อย ไม่มากพอที่จะจัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้ ทำให้คณะรัฐมนตรีมีมติให้ดอนหอยหลอดเป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งของประเทศไทยเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2543



    จำนวนดอนที่เกิดขึ้นในขณะนี้มีทั้งหมด 7 ดอน แต่ละดอนแยกจากกันด้วยร่องน้ำเล็ก ๆ ลึกบ้าง ตื้นบ้าง ดอนที่มีหอยหลอดชุกชุมมากมีจำนวน 5 ดอน ซึ่งเป็นดอนที่เกิดขึ้นนานแล้ว ความหนาแน่นของหอยหลอดบนพื้นที่ประมาณ 15,056.25 ไร่

    ลักษณะพื้นที่ของดอนหอยหลอดเป็น ลักษณะดินปนทราย ชาวบ้านเรียกว่า "ทรายขี้เป็ด" ซึ่งอาจนำไปใช้ถมที่ได้ แต่ใช้ประโยชน์ในการก่อสร้างไม่ได้  หอยหลอดจะอยู่หนาแน่นบริเวณที่มีทรายประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป ความหนาแน่นของหอยหลอดขึ้นอยู่กับ สภาพแวดล้อมในแต่ละปีที่เปลี่ยนแปลงไป

    หอยหลอดเป็นสัตว์น้ำทะเลชนิหนึ่ง มีชื่อสามัญว่า Rozor clam และมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Solen Strictus Gould 1861จัดเป็นหอยสองฝาที่มีตัวอาศัยอยู่ในฝาที่ประกบทั้งสองข้าง มีลักษณะคล้ายหลอดกาแฟ กลมยาวประมาณ 7-8 เซนติเมตร สีน้ำตาลอ่อน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร เป็น ขนาดของหอยที่โตเต็มที่ มีสภาพความเป็นอยู่โดยการฝังตัวตั้งเป็นแนวดิ่งอยู่ใต้พื้นทราย

 

   ยามน้ำแห้งซึ่งเป็นช่วงโอกาสที่ชาวประมงจะทำการจับหอยหลอดได้หอยจะเปิดฝาอยู่เรี่ยพื้น และยึดตัวยื่นออกมาจับแพลงตอนเป็นอาหารหรือการเคลื่อนตัวออกไปหาพื้นที่อยู่ใหม่

    เนื่องจากดอนหอยหลอดมีหอยหลอดชุกชุมมาก และมีทัศนียภาพที่สวยงาม แปลก และมีเอกลักษณ์คือ ยามปกติเวลาน้ำขึ้นน้ำทะเลจะท่วม ดอนจะจมหายไปในน้ำไม่มีร่องรอยของดอนหอยหลอดอยู่เลย แต่พอน้ำลง จะปรากฏพื้นที่ดอนหอยหลอดค่อย ๆ โผล่ขึ้นทีละน้อย เป็นพื้นที่กว้างไกลหลายร้อยไร่ จึงทำให้ดอนหอยหลอดเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่ง

    สิ่งที่ดึงดูดใจนักท่องเที่ยว คือ หอยหลอด กล่าวกันว่าเป็นแหล่งที่มีหอยหลอดชุกชุมมากที่สุดแห่งเดียวในประเทศไทย หรือแห่งเดียวในโลก นักท่องเที่ยวนิยมลงไปจับหอยหลอดกันอย่างสนุกสนาน

 

   วิธีจับก็ใช้มือกดบงบนพื้นทราย จะเห็นฟองอากาศ และเห็นรูปรากฏ เอาไม้จิ้มปูนขาวแหย่ลงไป หอยหลอดจะโผล่ขึ้นมาให้จับ ต้องรีบเก็บใส่ภาชนะไว้ มิฉะนั้นจะมุดดินหนีอยู่ลึกลงไปกว่าเดิมอีก  ไม่ควรสาดปูนขาวลงบนสันดอน เพราะจะทำให้หอยที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นตายหมด

    ช่วงเวลาเหมาะสมที่จะท่องเที่ยวดอนหอยหลอด คือ ประมาณเดือนมีนาคม - พฤษภาคมเพราะน้ำทะเลจะลดลงนานกว่าช่วงเวลาอื่น และสามารถมองเห็นสันดอนโผล่ขึ้นมา นักท่องเที่ยวสามารถเช่าเรือบริเวณศาลาอาภร (ใกล้ศาลกรมหลวงชุมพรเขตตอุดมศักดิ์) เพื่อนั่งเรือไปชมดอนหอยหลอด

    นักท่องเที่ยวสามารถสอบถามรายละเอียดเวลาน้ำขึ้น - น้ำลง ได้ที่ อบต. บางจะเกร็งโทร 034-723749  



หลายคนเข้าใจว่า "หอยหลอด" มีเพียงที่ดอนหอยหลอดที่เดียวในโลก แต่ความจริงแล้ว ยังมีหอยหลอดในบริเวณอื่นอีก เช่น จ.สมุทรปราการ และ จ.ตราด และในต่างประเทศ เช่น อินโดนีเซีย และออสเตรเลีย แต่มีในปริมาณน้อย ไม่มากพอที่จะจัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้ ทำให้คณะรัฐมนตรีมีมติให้ดอนหอย.หลอดเป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งของประเทศไทย เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2543 ครับ

 

 หอยหลอด

 ชื่อไทย : หอยหลอด

ชื่อสามัญ : Rozer ciam
ชื่อวิทยาศาสตร์ :Solen   regularis Dunker, 1861



      หอยหลอดเป็นหอยสองฝาชนิดหนึ่งที่มีการแพร่กระจายบริเวณปากแม่น้ำทั้งทางด้านชายฝั่งทะเลอันดามันและชายฝั่งทะเลอ่าวไทยในบริเวณพื้นที่ที่เป็นดินปนทรายหอยหลอดประกอบด้วยเปลือกที่ห่อหุ้มลำตัว เป็นรูปทรงกระบอกสีขาวอมเหลืองหรือสีเหลืองอ่อน ลักษณะเหมือนหลอดกาแฟส่วนปลายของเปลือกทั้งสองด้านมีช่องเปิดด้านหนึ่งเป็นเท้าและอีกด้านหนึ่งเป็นท่อน้ำ สำหรับกรองอาหารยื่นออกมา หอยหลอดจะชอบฝังตัวอยู่ในดินอยู่ลึกจากผิวดินประมาณ 1-2 นิ้ว โดยจะขุดเป็นท่อขนาดเท่าลำตัวและวางตัวอยู่ในท่อในแนวตั้งหรือเอียงประมาณ 30 องศาโดยตัวหอยจะเคลื่อนที่ขึ้นลง อยู่ในท่อหรือรูนี้ปกติหอยจะขึ้นมาอยู่บนผิวหน้าของดิน โดยยื่นลำตัวเหนือผิวดิน ประมาณ 1/3 ของลำตัวหอยหรืออาจจะอยู่บริเวณผิวดิน และเปิดช่องเพื่อกรองอาหารและน้ำผ่านเข้าไปในตัว

 

 แหล่งผลิตหอยหลอดที่ใหญ่ที่สุด

            อยู่ที่ดอนหอยหลอดจังหวัดสมุทรสงครามมีพื้นที่กว่า 40,000 ไร่ และมีที่ดอนอยู่ประมาณ 20,000 ไร่เศษซึ่งเป็นจุดที่มีหอยหลอดอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากซึ่งในพื้นที่ดอนดังกล่าวจะมีน้ำขึ้น-ลงทุกวันในช่วงที่น้ำลง จะมองเห็นดินปนทรายและสัตว์น้ำหลากหลายชนิด โดยในแต่ละวัน จะมีทั้งชาวประมงและนักท่องเที่ยวลงทำการเก็บหอย โดยการนำปูนขาวไปหยอดลงไปช่องหรือรูของหอยหลอดเมื่อหอยได้รับสิ่งแปลกปลอมซึ่งระคายเคืองและเป็นพิษ จะพ่นน้ำและพุ่งตัวออกจากรูทำให้สามารถจับได้ง่าย

และเนื่องจากในปัจจุบันมีการจับหอยหลอดกันมากอนาคตหากไม่มีการเพาะขยายพันธุ์และอนุรักษ์หอยหลอดอาจสูญพันธุ์ได้ ด้วยเหตุนี้ สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง จ.สมุทรสงครามจึงได้ศึกษาขั้นตอนการเพาะขยายพันธุ์หอยหลอดขึ้นมาเพื่อนำไปปล่อยในแหล่งน้ำธรรมชาติ และการเลี้ยงเชิงพาณิชย์โดยมีขั้นตอนการดำเนินการต่าง ๆ ดังนี้

 

 

 

ขั้นตอนการเพาะขยายพันธุ์
   
      โดยรวบรวมพ่อแม่พันธุ์หอยจากดอนหอยหลอด ด้วยการหยอดปูนขาวและรีบนำหอยมาใส่ในน้ำทะเล เพื่อให้คายปูนขาวออกลำเลียงเข้าสถานีแล้วคัดขนาดพ่อแม่พันธุ์ ที่มีขนาดตั้งแต่ 4 เซนติเมตรขึ้นไปใส่ในถังไฟเบอร์กลาส ขนาด 0.5x1.8x0.4 เซนติเมตรเพื่อเพาะพันธุ์

     การเพาะพันธุ์นี้จะใช้วิธีกระตุ้นด้วยอุณหภูมิที่แตกต่างกันโดยการทำน้ำทะเลให้อุ่นด้วยเครื่องทำน้ำอุ่น ให้ได้อุณหภูมิ ประมาณ 38-40 องศาเซลเซียส แล้วผ่านเข้าไปในถังไฟเบอร์กลาส ที่ใช้เพาะพันธุ์นานประมาณ 20-30 นาที แล้วจึงปล่อยน้ำทะเลอุณหภูมิปกติประมาณ 26-30 องศาเซลเซียสเข้าไปในถังเพาะพันธุ์ สลับปล่อยน้ำอุ่นและน้ำอุณหภูมิปกติประมาณ 2-4 ครั้ง ถ้าพ่อแม่สมบูรณ์เต็มที่จะปล่อยเซลล์สืบพันธุ์ออกมาหอยจะปล่อยไข่และน้ำเชื้อออกมาผสมกันภายนอกตัวซึ่งจะรอจนกว่าหอยปล่อยไข่และน้ำเชื้อออกมาหมด จากนั้นทิ้งไว้ประมาณ 10 นาทีเพื่อให้ไข่ และน้ำเชื้อผสมกัน แล้วจึงกรอง โดยใช้ผ้ากรองขนาด 30 ไมครอน

    

 

 

        สุ่มนับจำนวนไข่ลงถังอนุบาล ซึ่งจะใช้ถังไฟเบอร์กลาส ขนาด 1 ตันทรงกรวยที่ใส่น้ำทะเลที่ผ่านการฆ่าเชื้อความเค็มน้ำประมาณ 25-27 ส่วน ในน้ำอุณหภูมิ 25-26 องศาเซลเซียส pH ประมาณ 8 โดยให้มีความหนาแน่นประมาณ 1-2 ฟอง/มิลลิเมตรไข่หอยหลอดจะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 56-80 ไมครอนเมื่อไข่ได้รับการผสมจะเริ่มแบ่งเซลล์และเปลี่ยนแปลงรูปร่าง โดยเข้าสู่ระยะ Trochopliore ใน 4 ชั่วโมง และพัฒนาไปสู่ระยะ D-Shape ใน 5 ชั่วโมงซึ่งในระยะนี้ลูกหอยจะว่ายน้ำ และเริ่มลงเกาะพื้นเข้าสู่ระยะ Setting ในวันที่ 7 หรือ 8 หลังจากนั้นจะมีการพัฒนารูปร่างไปเรื่อย ๆ ประมาณ 30 วัน จะเป็นระยะ Juvenile ที่

        มีลักษณะเหมือนพ่อแม่พันธุ์ การทดลองครั้งที่ผ่านมาทางสถานีได้หอยมาจำนวน 860,000 ฟองไข่เริ่มแบ่งตัว เข้าสู่ระยะ D-Shape ภายใน 5 ชั่วโมงมีขนาดประมาณ 96x122 ไมครอน จำนวน 600,000 ตัว อัตรารอดตาย 70.58 เปอร์เซ็นต์ไข่พัฒนาเข้าสู่ระยะ Setting ภายใน 8 วัน มีขนาดประมาณ 184x224 ไมครอน จำนวน 60,000 ตัว อัตรารอดตาย 7.05 เปอร์เซ็นต์ และพัฒนาจนมีรูปร่างเหมือนตัวเต็มวัย ภายใน 30 วัน มีขนาดประมาณ 520x1,040 ไมครอน เหลือรอดอยู่ 6,000 ตัว อัตรารอดตาย 0.70 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งในช่วงแรก ๆ ลูกหอยจะไม่กินอาหาร แต่เมื่ออายุได้ 1 วัน หรือเข้า D-Shape ก็เริ่มให้กินอาหาร อาหารที่ใช้

       เลี้ยงหอยวัยอ่อนนี้ จะให้สาหร่ายสีน้ำตาลชนิด Isochrysis galbana ขนาด ประมาณ 6-8 ไมครอน ในอัตรา 10,000 เซลล์/มิลลิเมตรและค่อย ๆ เพิ่มปริมาณขึ้น ให้เพียงพอเมื่อลูกหอยเข้าสู่ระยะ Setting จะให้สาหร่าย Tetraselmis sp. เสริมด้วย โดยจะให้อาหารวันละ 2 ครั้งเช้าและเย็นแล้วจะเปลี่ยนถ่ายน้ำเว้นวัน โดยใช้สายยางดูดผ่านตะแกรง ที่มีขนาดต่าง ๆ กันขึ้นอยู่กับขนาดของลูกหอย พร้อม ๆ กับสุ่มตัวอย่างมาวัดขนาดและนับจำนวนเพื่อศึกษาการเจริญเติบโต และอัตราการรอดตาย

 

อนุบาลลูกหอยได้ 3 เดือน
   
     เมื่อลูกหอยที่เพาะขยายพันธุ์อายุได้ 30 วันก็มีการทดลองเลี้ยงให้เป็นหอยขุนและพ่อแม่พันธุ์รุ่นต่อไปโดยนำมาเลี้ยงในถังไฟเบอร์ฯ ขนาด 2 ตารางเมตร ก้นถังรองด้วยดินปนทราย สูงประมาณ 1-2 เซนติเมตร ดูดน้ำเข้ามาให้มีระดับสูง 2-3 เซนติเมตร ภายในถังไฟเบอร์ฯ ดังกล่าวจะมีการติดตั้งท่อออกซิเจนไว้ด้วยโดยปล่อยลูกหอยลงเลี้ยงในอัตราหนาแน่น 48,000 ตัว ต่อพื้นที่ 2 ตารางเมตร แต่เลี้ยงได้ 3 เดือนก็ต้องยกเลิกเพราะว่าหอยทยอยตายไปเรื่อย ๆ โดยไม่ทราบสาเหตุหอยที่เหลือส่วนหนึ่งทางสถานีนำไปปล่อยลงสู่ธรรมชาติที่ดอนหอยหลอด 

   ปัจจุบันนี้การเพาะเลี้ยงหอยหลอดประสบความสำเร็จเฉพาะขั้นตอนการเพาะขยายพันธุ์เท่านั้นส่วนการอนุบาลและการเลี้ยงขุน ยังอยู่ในขั้นตอนการศึกษาวิจัย

     การทดลองครั้งนี้ถือเป็นความสำเร็จครั้งแรกที่สามารถทำให้หอยหลอดวางไข่และปล่อยน้ำเชื้อจนกระทั่งเจริญเติบโตเป็นลูกหอยได้อย่างสมบูรณ์ในห้องปฏิบัติการลูกหอยอยู่ได้นานที่สุด 54 วันซึ่งสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งจังหวัดสมุทรสงครามจะได้ทดลองหาเทคนิคในการอนุบาลและการเลี้ยงลูกหอยให้อยู่รอดและเจริญเติบโตได้ในขั้นต่อไปจากผลการทดลองในครั้งนี้พอจะประมวลผลหลักใหญ่ได้ดังนี้
  
         1. ความสมบูรณ์ของพ่อแม่พันธุ์หอยหลอดเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องพิจารณาเป็นอันดับแรกในหอยบางชนิด เช่นหอยนางรมวางไข่เกือบตลอดปี จึงอาจจะเพาะพันธุ์ได้ทั้งปีแต่ในหอยชนิดอื่นจะต้องเพาะพันธุ์ในช่วงไข่แก่เท่านั้นสำหรับหอยหลอดบริเวณบ้านบางบ่อและบริเวณปากแม่น้ำแม่กลองมีการวางเซลล์สืบพันธุ์มากในเดือนพฤศจิกายนและพฤษภาคมประมาณ 39.0 และ 64.0 เปอร์เซ็นต์ กับเดือนสิงหาคม ประมาณ 58.8-28.0 เปอร์เซ็นต์ 

         2. เทคนิคในการกระตุ้นให้หอยปล่อยเซลล์สืบพันธุ์ที่ใช้ได้ผลและเป็นวิธีที่สะดวกและง่ายต่อการทดลองมากที่สุดคือการใช้อุณหภูมิที่แตกต่างกันในการกระตุ้น หรือการเพิ่ม-ลด อุณหภูมิโดยกะทันหันซึ่งเป็นวิธีที่ได้ผลดีกับการทดลองในครั้งนี้

         3. เป็นเรื่องสำคัญในการเพาะหอย ในครั้งนี้อาหารที่เหมาะสำหรับใช้เลี้ยงลูกหอยคือสาหร่ายสีน้ำตาล ชนิด Isochrysis galbana ซึ่งมีขนาด 6-8 ไมครอน เป็นส่วนใหญ่เมื่อลูกหอยเข้าสู่ระยะตกเกาะ (Setting) จึงให้ Tetraselmis sp. ซึ่งมีขนาด 10-14 ไมครอน

         4. ความสะอาดของน้ำทะเลเป็นปัจจัยสำคัญเช่นกันน้ำทะเลที่ใช้เพาะพันธุ์หอยจะต้องเป็นน้ำทะเลที่สะอาดผ่านการฆ่าเชื้อมาแล้วซึ่งควรเป็นน้ำกรองผ่านเครื่องกรองน้ำ (Sand Filter) เพื่อให้ใสแล้วจึงผ่านแสงอัลตราไวโอเลตแต่ในการทดลองครั้งนี้น้ำที่ใช้ผ่านการฆ่าเชื้อด้วยคลอรีนเพียงอย่างเดียวไม่ได้ผ่านแสงอัลตราไวโอเลตและสถานที่สำหรับเพาะพันธุ์หอยหลอดไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิและสภาพแวดล้อมได้เท่าที่ควรและเนื่องจากเป็นสถานที่เพาะพันธุ์ปลากะพงขาว จึงทำให้มีการปนเปื้อนเชื้อโรคฝุ่นละอองซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีผลต่อการอนุบาลลูกหอยหลอดได้ในระยะเวลาเพียงช่วงหนึ่งเท่านั้น

        5. เทคนิควิธีการเลี้ยงลูกหอยวัยอ่อนยังต้องพัฒนาอีกมากเพราะหอยหลอดจะฝังตัวในดินปนทราย ซึ่งยากต่อการจัดการ



เมนูอร่อยจากหอยหลอด
 

 
 หอยหลอดสามารถนำมาแปรรูปหรือปรุงเป็นอาหารได้ปลายชนิดเช่นหอยหลอดเสียบไม้ย่าง , หอยหลอดผัดฉ่า หรือหอยหลอด 3 รสซึ่งจากประสบการณ์ในการรับประทานของผู้เรียบเรียง ขอยืนยันว่าอร่อย..เด็ด

 

 

 

 

 

 

 








ที่มาของภาพและบทความ
:

http://www.donhoilod.com/

http://www.maeklongtoday.com

http://www.amphawatoday.com

www.nicaonline.com

http://www.hamanan.com

http://www.bloggang.com 

http://www.wutkate.com

http://www.churnchuanresort.com

เอกสารอ้างอิง
- กองบรรณาธิการ. 2545. วิชาการงานวิจัย : สพช.สมุทรสงครามเจ๋งเพาะหอยหลอดสำเร็จรายแรก.คัมภีร์เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ : ปีที่ 1 ฉบับที่ 7, หน้า 43-48.
- วรรณเพ็ญ, ฤทธิกร และนพดล. 2545. การทดลองเพาะพันธุ์หอยหลอด Solen regularis Dunlcer,1861. เอกสารวิชาการฉบับที่ 19/2545 สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง 
จังหวัดสมุทรสงคราม. กองเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง กรมประมง. 10 หน้า.
- ศุภชัย นิลวานิช. 2545. รายงานพิเศษ หอยเศรษฐกิจ : เพาะหอยหลอดงานวิจัยเพื่ออนุรักษ์ และการค้า. มติชนบท เทคโนโลยีชาวบ้าน : ปีที่ 14 ฉบับที่ 288, หน้า 65-67


[ +zoom ]

[ +zoom ]

[ +zoom ]

[ +zoom ]

[ +zoom ]

[ +zoom ]

[ +zoom ]

[ +zoom ]

[ +zoom ]

[ +zoom ]

[ +zoom ]

[ +zoom ]

[ +zoom ]

[ +zoom ]

[ +zoom ]

[ +zoom ]

[ +zoom ]

[ +zoom ]

[ +zoom ]

[ +zoom ]
ท่องเที่ยวทะเลไทย...
- เมื่อก่อนหอยจอบ หรือหอยซองพลู [6 เมษายน 2555 09:56 น.]
- อ่าวบางตะบูน อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี [6 เมษายน 2555 09:56 น.]
- ชายทะเล “ดอนหอยหลอด” [6 เมษายน 2555 09:56 น.]
ดูทั้งหมด

  แสดงความคิดเห็น

ตัวหนา ตัวเอียง ตัวขีดเส้นใต้ ตัวขีดกลาง ชิดซ้าย กึ่งกลาง ชิดขวา รูปภาพ ลิ้งก์ ขนาดต้วอักษร สีต้วอักษร

ชื่อ: *
E-mail : *
ไม่ต้องการแสดง Email
รหัสตรวจสอบ : Security Image
* กรุณากรอกรหัสที่อยู่ในรูป

Copyright@2010 by www.nongtoob.com All right reserved.
Engine by MAKEWEBEASY